ความเครียด (จิตวิทยา)
ความเครียด (จิตวิทยา)

ความเครียด (จิตวิทยา)

ในสาขาจิตวิทยา ความเครียด เป็นความรู้สึกตึง/ล้าทางใจ หรือการเสียศูนย์/ความสมดุลทางใจที่มีมาก่อน เนื่องจากการได้รับสิ่งเร้า/ปัจจัยไม่ว่าทางกายหรือใจ ไม่ว่าจะภายนอกหรือภายใน ไม่ว่าจะเป็นอันตรายจริง ๆ หรือไม่ เช่น อากาศร้อน ถูกติเตียนต่อหน้าสาธารณชน หรือได้รับสิ่งเร้า/ประสบการณ์อื่น ๆ ที่ไม่น่าชอบใจ และโดยทั่วไปหมายถึงอารมณ์เชิงลบซึ่งบุคคลปกติพยายามจะหลีกเลี่ยง เป็นอารมณ์ที่เกิดพร้อมกับการปรับตัวทางสรีรภาพ ทางประชาน และทางพฤติกรรม[1]เป็นความทุกข์ทางใจอย่างหนึ่ง[2] ความเครียดเล็กน้อยอาจเป็นเรื่องที่น่าต้องการ มีประโยชน์ และแม้แต่ดีต่อสุขภาพเช่น ความเครียด "เชิงบวก" ที่ช่วยให้นักกีฬาเล่นกีฬาได้ดีขึ้นมันยังเป็นปัจจัยสร้างแรงจูงใจ การปรับตัว และการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมแต่การเครียดมากอาจทำอันตรายต่อร่างกายเพราะสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อเส้นเลือดอุดตันในสมอง กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด แผลเปื่อย และโรคทางใจ เช่น โรคซึมเศร้า[3]ความเครียดอาจมาจากปัจจัยภายนอกและเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม[4]แต่ก็อาจมีเหตุจากการรับรู้ภายในที่ทำให้บุคคลรู้สึกวิตกกังวลหรือเกิดอารมณ์เชิงลบอื่น ๆ เกี่ยวกับสถานการณ์ เช่น รู้สึกถูกกดดัน ไม่สบายใจ เป็นต้น แล้วทำให้เครียด[2]นักวิชาการจึงได้นิยามความเครียดไว้อีกอย่างหนึ่งว่า เป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมที่บุคคลจัดว่าสำคัญต่อตน และรู้สึกหนักเกินกว่าที่ตนจะรับมือได้[5]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความเครียด (จิตวิทยา) http://www.collinsdictionary.com/dictionary/englis... http://blog.ted.com/could-stress-be-good-for-you-r... http://www.ttgmice.com/article/cwt-rolls-out-solut... http://oregonstate.edu/instruct/dce/hhs231_w04/nin... http://www.cla.purdue.edu/academic/engl/theory/psy... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2568977 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3374921 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3871742 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4253863 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11392869